วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๐

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๐
ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์มีความจำเป็นต้องมีเกณฑ์ตัดสินที่จะวัดหรือจำแนกแยกแยะว่าอะไรดีอะไร ชั่ว  อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร เช่นเดียวกับการที่มนุษย์จำเป็นต้องมีมาตราชั่งตวงวัดในการดำเนินชีวิต ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวนี้จะถูกกำหนดขึ้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเป็น มาตรฐานสากลที่ถูกยอมรับกันโดยทั่วไปอ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
ความรู้เกี่ยวกับศาสนา

   ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทางให้มนุษย์สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง  แม้แต่ละศาสนาจะมีมูลเหตุการณ์เกิดที่ต่างกัน   แต่ก็ล้วนมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เหมือนกัน  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา  เพื่อจะได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม    อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘
หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ

        พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้   อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗
พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง
      1.  พระอนุรุทธเถระ
      พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติร่วมพระมารดาเดียวกัน ๓ พระองค์ คือ พระเชฏฐา (พี่ชาย) พระนามว่า มหานามะ พระกนิฏฐภคินี (น้องสาว) พระนามว่า โรหิณี รวมเป็น ๓ กับอนุรุทธกุมาร ถ้าจะนับตามลำดับพระวงศ์ก็เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา อนุรุทธกุมารเป็นกษัตริย์สุมุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลังเป็นที่ประทับใน ๓ ฤดู สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ศฤงคาร* และบริวารยศ แม้แต่คำว่า ไม่มี ก็ ไม่เคยรู้จัก และไม่เคยได้สดับเลย

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
1.             การบริหารจิต

           การบริหารจิต หมาย ถึง การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์  ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง       อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕
พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
       พระไตรปิฎก  เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา  ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า  ไว้เป็นหมวดหมู่   แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ
                1.  พระวินัยปิฎก  ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
                2.  พระสุตตันตปิฎก  ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
                3.  พระอภิธรรมปิฎก   ว่าด้วยธรรมะล้วน  ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ    อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย หมายถึง   ดวงแก้วอันประเสริฐ 3 ดวง ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
คุณค่าพุทธะ ได้แก่  พิจารณาตามพุทธจริยา มี 3 ประการ คือ โลกัตถจริยา ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา
พระคุณของพระพุทธเจ้า สรุปได้ 3 ประการ คือ ๑.พระปัญญา     ๒.พระมหากรุณา    ๓.พระวิสุทธิคุณ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี
        วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา   อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒
พุทธประวัติและชาดก
 ๑. พุทธประวัติ         
พระพุทธเจ้าประสูติเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำเดือน สวนลุมพินีวันใต้ต้นสาละ  มีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา  เมื่อพระองค์ประสูติพระองค์ทรงเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท   อ่านเพิ่มเติม
๒. ชาดก
 ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก    อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑
ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
  ๑. ลักษณะของสังคมชมพูทวีปและคติความเชื่อทางศาสนาสมัยก่อนพระพุทธเจ้า
ในสมัยพุทธกาล อินเดียหรือชมพูทวีป แบ่งอาณาเขตเป็น 2 เขต คือ  เขตภาคกลาง เรียกว่า มัชฉิมชนบทหรือมัธยมประเทศ   อ่านเพิ่มเติม
  ๒. พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง
พระพุทธศาสนามีสาระที่เป็นประโยชน์ มีความสำคัญทั้งในด้านทฤษฎีที่เป็นเหตุเป็นผล และวิธีการที่เป็นสากลเหมาะสมกับทุกยุคทุกสมัย รวมทั้งมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง อ่านเพิ่มเติม